 |
จิตรกรรมนามธรรม (Abstract Paintings) |
วิรุณ ตั้งเจริญ
ภาพผลงานจิตรกรรมที่สะท้อนออกมาจากความรู้สึกนึกคิดภายใน ซึ่งเกิดจากการรับรู้ (to perceive) โลกภายนอก สร้างภาพความคิด ภาพในสมอง แล้วแสดงออกเป็นผลงานศิลปะ เป็นภาพที่ไร้รูปร่างหน้าตา ไร้ตัวตนจากโลกภายนอก หรือไร้เรื่องราว (Nonrepresentational Paintings) ภาพสะท้อนจากจิตใต้สำนึก (Subconsciousness) ตามแนวคิดจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) ของฟรอยด์ (Sigmund Freud)
|
|
 |
แกะรอยอารี สุทธิพันธุ์ : ศิลปินแห่งชาติ ผู้ชื่นชมเปลวไฟจากอดีตและปฏิเสธขี้เถ้าจากอดีต |
วิรุณ ตั้งเจริญ
ท่ามกลางกระแสตื่นตะวันตกจากอดีต กระแสศิลปะหลักวิชาและการสร้างอนุสาวรีย์ ได้แพร่สะพัดเข้าสู่สังคมไทย ได้วางกรอบไว้อย่างจำกัด ท่านอาจารย์อารี สุทธิพันธุ์ ได้แสดงปฏิกิริยาอย่างเข้มแข็ง เพื่อพัฒนากระบวนการศึกษาค้นคว้า กระบวนการคิด กระบวนการเรียนรู้ และกระบวนการสร้างสรรค์ศิลปะ แล้วศิลปะสมัยใหม่ในสังคมไทยอีกทางเลือกหนึ่ง ก็แสดงปฏิกิริยา เพื่อพัฒนาการสร้างสรรค์ศิลปะในสังคมไทยสืบไป
|
|
 |
วิวัฒนาการจิตรกรรมสีน้ำในประเทศไทย |
วรรณรัตน์ ตั้งเจริญ
จิตรกรรมสีน้ำในประเทศไทยได้แสดงบทบาทขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์wซึ่งแสดงอัจฉริยภาพทางศิลปกรรมหลายด้านได้ทรงสร้างสรรค์จิตรกรรมสีน้ำในลักษณะศิลปะ เชิงพรรณนาได้อย่างงดงามหลังจากนั้นระหว่างรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจนถึงก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบประชาธิปไตยพุทธศักราช 2475
|
|
 |
Synergetic Image (2555) |
วิรุณ ตั้งเจริญ
ผลงานจิตรกรรมสีน้ำมันหลัง 2555 ของวรรณรัตน์ ตั้งเจริญ (อินทร์อ่ำ) เป็นจิตรกรรมที่มีข้อน่าสังเกตหลายด้าน แม้การสร้างสรรค์จิตรกรรมจะแสดงออกเป็นช่วงเป็นตอน แต่ถ้าพิจารณาในเชิงการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการ จะพบปรากฏการณ์ใหม่บนพื้นภาพเกิดขึ้นเสมอ ซึ่งปรากฏการณ์ใหม่นั้น ก็สะท้อนประสบการณ์หรือความเชี่ยวชาญเดิมซ่อนอยู่ด้วยในแง่มุมต่างๆกัน งานจิตกรรมดอกไม้ในช่วง Synegetic Image เป็นการแสดงออกที่สะท้อนตัวตน การตัดสินใจ โครงสร้าง สีสรรพ์ การผสานรูปและพื้น บรรยากาศแสงสี คลุกเคล้าอยู่ด้วยกันอย่างน่าสนใจ
|
|
 |
การรับรู้และจินตภาพ |
วิรุณ ตั้งเจริญ
พัฒนาการศิลปะจากวิญญาณนิยม (Animism) มาสู่ความคิดเกี่ยวกับเทพ สมมติเทพและศาสนา ได้กลายเป็นฐานความคิดสำคัญสำหรับความประณีตวิจิตรบรรจง จิตนิยม และจิตวิญญาณ ในเส้นทาง ของ วิจิตรศิลป์ หรือ Fine Arts เมื่อโลกยุคใหม่พัฒนามาสู่ปรัชญาความคิดที่เชื่อมั่นในเสรีภาพ เชื่อมั่นในสังคมประชาธิปไตย อำนาจของชนชั้นกลาง การปฏิวัติอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การศึกษาสมัยใหม่ และการดำรงชีวิตสมัยใหม่
|
|
 |
วัฒนธรรมและนวัตกรรมความคิดเชิงระบบเพื่อการพัฒนาองค์กร |
วิรุณ ตั้งเจริญ
เมื่อเรากล่าวถึง วัฒนธรรม เป็นที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่า ธรรม คือธรรมชาติ ความจริง ความดีงาม วัฒนะหรือวัฒนา คือความเจริญ ความงอกงาม ว ในภาษาบาลีและสันสกฤตเป็น พ ในภาษาไทย พัฒนะหรือพัฒนา คือการเปลี่ยนแปลง การทำให้เจริญงอกงาม วัฒนธรรม จึงเป็นไปในทางบวกและต้องเปลี่ยนแปลงให้เจริญงอกงาม มีพลวัตอยู่ตลอดเวลา เปลี่ยนแปลงไปในทางดีงามให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงโลก เปลี่ยนแปลงสังคม เปลี่ยนแปลงโดยมีฐานรากและตัวตนของความดีงาม
|
|
|